วันมะเร็งโลก ประชากรทั่วโลกเริ่มรณรงค์ ให้ความสนใจกันมากขึ้น

‘มะเร็ง’ เป็นอีกโรคร้ายที่คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกในอัตราที่สูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นเพื่อให้ประชากรโลกตระหนักและเห็นถึงความสำคัญ จึงได้มีการกำหนดวันมะเร็งโลกขึ้นมา เพื่อให้ประชาชนสนใจและหันมาใส่ใจสุขภาพร่างกายตัวเองมากยิ่งขึ้น
วันมะเร็งโลก ตรงกับวันที่เท่าไหร่?
โดยทุก ๆ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นวันที่ทางองค์การอนามัยโลก (WHO) และสมาคมต่อต้านมะเร็งสากลได้มีการกำหนดให้เป็นวันมะเร็งโลก (World Cancer Day) เพื่อบรรเทาปัญหาการเจ็บป่วยและอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง หลังจากที่มีการสำรวจจนพบว่ามะเร็งเป็นโรคร้ายอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตประชากรทั่วโลก ผลสำรวจดังกล่าวเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงปี 1990 พบว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 8.1 ล้านคนในแต่ละปี จนเป็น 18.1 ล้านคนต่อปีในปี 2018 และยังคงมียอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อันดับมะเร็งที่ครองแชมป์การคร่าชีวิตผู้คน 3 อันดับ ได้แก่ มะเร็งปอด, มะเร็งเต้านมในผู้หญิง และมะเร็งลำไส้ ทั้งยังคาดการณ์ว่าหากทั่วโลกยังไม่ลงมือแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง ภายในปี 2030 หรืออีกประมาณ 8 ปีข้างหน้า จะมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปีละไม่ต่ำกว่า 13.1 ล้านคนต่อปี อย่างไรก็ตามกว่าร้อยละ 40 ของมะเร็งที่คร่าชีวิตของผู้คนมีทางป้องกันและรักษาได้ ทำให้ผู้คนมีโอกาสรอดจากโรคมะเร็งอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ทั้งยังมีการวิจัยและนำไปสู่นวัตกรรมใหม่ ๆ เรื่องมะเร็งในทุกปี ทั้งการวินิจฉัยโรค ตัวยาที่ใช้ ขั้นตอนการรักษา และการฟื้นฟูร่างกายหลังจากเข้ารับการรักษา ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งรู้สึกอุ่นใจได้ว่า ต่อให้พบว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งแล้ว ก็ยังพอมีหนทางที่ทำให้การรักษาดำเนินไปได้อย่างราบรื่น (สร้างกำลังใจให้ผู้ป่วย)
สถานการณ์มะเร็งในไทย เป็นอย่างไร?
สำหรับสถานการณ์มะเร็งในประเทศไทย หากไม่นับรวมถึงเรื่องการเกิดอุบัติ มะเร็งน่าจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากกว่า 23 ปี (นับตั้งแต่ปี 2542) โดยข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้เปิดเผยว่าคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง เฉลี่ยวันละประมาณ 221 ราย หรือคิดเป็น 80,665 รายต่อปี แต่เมื่อมีการเจาะลึกลงไปกลับพบว่าผู้ป่วยรายใหม่จากมะเร็ง เฉลี่ยวันละ 336 ราย หรือคิดเป็น 122,757 รายต่อปีเลยทีเดียว
ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบจากสถิติแล้ว ในแต่ละวันคนไทยเป็นผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ มากกว่าผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงพีค ๆ เสียอีก แม้ว่ามะเร็งจะไม่ใช่เรื่องน่ากลัว แต่ทุกคนก็มีโอกาสป่วยและเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่ามะเร็งจะพบคุณในรูปแบบไหนและจะลุกลามไปในระดับใดแล้วต่างหาก ในส่วนของมะเร็งที่พบสุดในคนไทย จะแบ่งออกเป็นเพศชายและเพศหญิง โดยเพศชายเป็นมะเร็งเฉลี่ย 169.3 คนต่อประชากร 1 แสนคน (อันดับที่ 15 ของเอเชีย) สำหรับมะเร็งที่พบบ่อยในเพศชาย ได้แก่
- มะเร็งตับและท่อน้ำดี
- มะเร็งปอด
- มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง
- มะเร็งต่อมลูกหมาก
- มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับผู้หญิงจะพบสถิติป่วยมะเร็ง 151 คนต่อประชากร 1 แสนคน อยู่ในอันดับ 18 ของเอเชีย โดยโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในเพศหญิง มีทั้งหมด 5 อันดับ ได้แก่
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งตับและท่อน้ำดี
- มะเร็งปากมดลูก
- มะเร็งลำไส้
- มะเร็งปอด
และแม้ว่าปัจจุบันแพทย์จะมีหนทางการรักษาและวิธีการป้องกันโรคมะเร็งได้ แต่เราก็ไม่สามารถคาดการณ์ปัญหาต่าง ๆ ล่วงหน้าได้ วันนี้อาจปกติดีแต่พรุ่งนี้อาจมีเรื่องราวที่น่าหนักใจเกิดขึ้นกับเรา ดังนั้นนอกจากการดูแลตัวเองและหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีแล้ว การเลือกทำประกันมะเร็ง ไว้ล่วงหน้า ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกดี ๆ ที่จะช่วยให้คุณลดค่าใช้จ่ายในการรักษา หรือหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นก็ยังคงมีเงินสำรองเอาไว้ให้คนข้างหลังได้ใช้อย่างหมดห่วง
แต่ถึงอย่างไร ‘การไม่มีโรคคือลาภอันประเสริฐ’ ดังนั้นป้องกัน ดูแล และรักษาสุขภาพร่างกายของตัวเองให้ดีที่สุดน่าจะเป็นอะไรที่ดีกว่า ไม่ต้องเสียเวลารักษาตัว ไม่เสียเวลาทำงาน และไม่เสียเวลาที่จะได้ใช้ชีวิตอยู่กับคนที่คุณรัก